หมิ่นประมาทในทางแพ่งกับหมิ่นประมาทในทางอาญา

by admin on มิถุนายน 13, 2019

ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ความผิดในฐานหมิ่นประมาทนั้นมีองค์ประกอบและความเสียหายที่ต่างกันออกไป ดังนี้

หมิ่นประมาทในทางแพ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้

ส่วนความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญาประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติว่าความแตกต่างของหมิ่นประมาทในทางแพ่งกับหมิ่นประมาททางอาญาต่างกันตรงที่ “เจตนา”  กล่าวคือ หมิ่นประมาททางอาญา จะต้องกระทำโดยเจตนา การกระทำโดยไม่เจตนา หรือโดยประมาท ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ส่วนในทางแพ่ง แม้ไม่มีเจตนาก็ถือว่าหมิ่นประมาท ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลิ่นเล่อ ก็ต้องรับผิดทางละเมิด ในกรณีหมิ่นประมาททางแพ่งนั้น การกล่าวหรือไขข่าวข้อความที่เป็นความจริง ไม่ถือเป็นละเมิด ตรงข้ามกับทางอาญา แม้จะเป็นข้อความที่เป็นจริง ก็อาจมีความผิดได้ เพราะกฎหมายห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ในประเด็นเรื่องความเสียหายความผิดฐานหมิ่นประมาทในทางอาญา ผลของการใส่ความจะเป็นการเสียหายต่อชื่อเสียง ทำให้ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ส่วนความเสียหายอื่นๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนด เช่น เสียหายต่อทางทำมาหาได้ การใส่ความนั้นก็ไม่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญาแต่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง ส่วนหมิ่นประมาทในทางแพ่ง กำหนดความเสียหายไว้กว้างกว่าทางอาญา เพราะนอกจากความเสียหายต่อชื่อเสียงแล้ว ยังรวมถึงความเสียหายต่อทางทำมาหาได้ เกียรติคุณ หรือทางเจริญอีกด้วย

Leave a Comment

Previous post:

Next post: