พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 20 และ 21)

by admin on สิงหาคม 26, 2015

ในการแก้ไขกฎหมายนี้ เพื่อจะคุ้มครองสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ค้ำประกันและผู้จำนองซึ่งมิใช่ลูกหนี้ชั้นต้น แต่เป็นเพียงบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ในการที่จะชำระหนี้แทนลูกหนี้เท่านั้น ในทางปฏิบัติ เจ้าหน้าส่วนใหญ่ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบอาชีพให้กู้ยืม มักอาศัยอำนาจในการต่อรองหรือการได้เปรียบในทางการเงินกำหนดข้อตกลงอันเป็นการยกเว้นสิทธิของผู้คำประกันหรือผู้จำนองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือให้ให้ค้ำประกันหรือผู้จำนองซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปไม่ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย รวมทั้งต้องกลายเป็นผู้ล้มละลายอีกเป็นจำนวนมาก และเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ค้ำประกันละผู้จำนอง

และในการประกาศใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่ 21 เป็นการแก้ไขในเรื่องนิติบุคคลเป็นผู้ค้ำประกัน โดยสามารถผูกพันตนเข้าเพื่อรับผิดอย่างลุกหนี้ร่วมได้ รวมทั้งสามารถทำข้อตกล่วงหน้ายินยอมให้มีการผ่อนเวลาได้ หากเป็นสถาบันการเงินหรือประกอบอาชีพค้ำประกัน เพื่อสินจ้างเป็นปกติธุระ โดยให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในปัจจุบันนี้

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๗

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๗

 

Leave a Comment

Previous post:

Next post: