Hot! พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๙

พระราชบัญญัติ

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕)

พ.ศ. ๒๕๕๙

————————————————————————

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙

เป็นปีที่ ๗๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

              พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

              โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา

              จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้

               มาตรา ๑    พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๙”

               มาตรา ๒    พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

               มาตรา ๓    ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๙ แห่งประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

               “มาตรา ๒๙   ผู้ใดต้องโทษปรับและไม่ชําระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ผู้นั้นจะต้องถูกยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับหรือมิฉะนั้นจะต้องถูกกักขัง แทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นเหตุอันควรสงสัยว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชําระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกัน หรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปพลางก่อนก็ได้                     ความในวรรคสองของมาตรา ๒๔ มิให้นํามาใช้บังคับแก่การกักขังแทนค่าปรับ

                 มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๙/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา                       “มาตรา ๒๙/๑ ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับไม่ชําระค่าปรับภายในกําหนดเวลาตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอํานาจออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้นั้นเพื่อใช้ค่าปรับ

                 การบังคับคดีตามวรรคหนึ่ง ให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินการบังคับคดี และให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอํานาจหน้าที่ยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับ และขายทอดตลาดตามที่ได้รับแจ้งจากศาลหรือพนักงานอัยการ ทั้งนี้ มิให้หน่วยงานของรัฐเรียกค่าฤชาธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายจากผู้ดําเนินการบังคับคดี

                 การตรวจสอบหาทรัพย์สินของผู้ต้องโทษปรับโดยพนักงานอัยการเพื่อการบังคับคดีตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กําหนดในข้อบังคับของอัยการสูงสุด

                 บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบต่อการที่ศาลจะมีคําสั่งตามมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง”                    มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

                “มาตรา ๓๐ ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตราห้าร้อยบาทต่อหนึ่งวัน และไม่ว่าในกรณี ความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง ห้ามกักขังเกินกําหนดหนึ่งปี เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับ ตั้งแต่สองแสนบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแต่ไม่เกินสองปีก็ได้

                ในการคํานวณระยะเวลานั้น ให้นับวันเริ่มกักขังแทนค่าปรับรวมเข้าด้วยและให้นับเป็นหนึ่งวันเต็ม โดยไม่ต้องคํานึงถึงจํานวนชั่วโมง

                ในกรณีที่ผู้ต้องโทษปรับถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจํานวนวันที่ถูกคุมขังนั้นออกจาก จํานวนเงินค่าปรับ โดยถืออัตราห้าร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ผู้นั้นต้องคําพิพากษาให้ลงโทษทั้งจําคุกและปรับ ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้าจะต้องหักจํานวนวันที่ถูกคุมขังออกจากเวลาจําคุกตามมาตรา ๒๒ ก็ให้หักออกเสียก่อน เหลือเท่าใดจึงให้หักออกจากเงินค่าปรับ

                เมื่อผู้ต้องโทษปรับถูกกักขังแทนค่าปรับครบกําหนดแล้ว ให้ปล่อยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกําหนด ถ้านําเงินค่าปรับมาชําระครบแล้ว ให้ปล่อยตัวไปทันที”

                มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๓๐/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                “มาตรา ๓๐/๑ ในกรณีที่ศาลพิพากษาปรับ ผู้ต้องโทษปรับซึ่งมิใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชําระ ค่าปรับอาจยื่นคําร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์ แทนค่าปรับ หรือถ้าความปรากฏแก่ศาลในขณะที่พิพากษาคดีว่าผู้ต้องโทษปรับรายใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะทํางาน บริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์ตามมาตรานี้ได้ และถ้าผู้ต้องโทษปรับยินยอม ศาลจะมีคําสั่ง ให้ผู้นั้นทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับก็ได้”

                 มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

                 “มาตรา ๕๖ ผู้ใดกระทําความผิดซึ่งมีโทษจําคุกหรือปรับ และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจําคุก ไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น                   (๑) ไม่เคยรับโทษจําคุกมาก่อน หรือ

                  (๒) เคยรับโทษจําคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสําหรับความผิดท่ีได้กระทําโดยประมาท หรือความผิด ลหุโทษ หรือเป็นโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือ

                 (๓) เคยรับโทษจําคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจําคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทําความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

                 และเมื่อศาลได้คํานึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายาม บรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกําหนดโทษ หรือกําหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจําคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กําหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกําหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

                 เงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง ศาลอาจกําหนดข้อเดียว หรือหลายข้อตามควรแก่กรณีได้ ดังต่อไปนี้

                 (๑) ให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนํา ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพ หรือ จัดให้กระทํากิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์

                 (๒) ให้ฝึกหัดหรือทํางานอาชีพอันเป็นกิจจะลักษณะ

                 (๓) ให้ละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนําไปสู่การกระทําความผิดในทํานอง เดียวกันอีก

                 (๔) ให้ไปรับการบําบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษ ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่น ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกําหนด

                 (๕) ให้เข้ารับการฝึกอบรม ณ สถานที่และตามระยะเวลาที่ศาลกําหนด

                 (๖) ห้ามออกนอกสถานที่อยู่อาศัย หรือห้ามเข้าในสถานที่ใดในระหว่างเวลาที่ศาลกําหนด ทั้งนี้ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจํากัดการเดินทางด้วยก็ได้

                 (๗) ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเยียวยาความเสียหายโดยวิธีอื่นให้แก่ผู้เสียหายตามที่ ผู้กระทําความผิดและผู้เสียหายตกลงกัน

                 (๘) ให้แก้ไขฟื้นฟูหรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม หรือชดใช้ค่าเสียหายเพื่อการดังกล่าว

                 (๙) ให้ทําทัณฑ์บนโดยกําหนดจํานวนเงินตามที่ศาลเห็นสมควรว่าจะไม่ก่อเหตุร้าย หรือก่อให้เกิด ภยันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สิน

                (๑๐) เงื่อนไขอื่น ๆ ตามที่ศาลเห็นสมควรกําหนดเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู หรือป้องกันมิให้ผู้กระทํา ความผิดกระทําหรือมีโอกาสกระทําความผิดขึ้นอีก หรือเงื่อนไขในการเยียวยาผู้เสียหายตามที่เห็นสมควร

                เงื่อนไขตามที่ศาลได้กําหนดตามความในวรรคสองนั้น ถ้าภายหลังความปรากฏแก่ศาลตามคําขอ ของผู้กระทําความผิด ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้นั้น ผู้อนุบาลของผู้นั้น พนักงานอัยการหรือเจ้าพนักงานว่า พฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติของผู้กระทําความผิดได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนข้อหนึ่งข้อใดเสียก็ได้ หรือจะกําหนดเงื่อนไขข้อใดตามที่กล่าวในวรรคสอง ที่ศาลยังมิได้กําหนดไว้เพิ่มเติมขึ้นอีกก็ได้ หรือถ้ามีการกระทําผิดทัณฑ์บนให้นําบทบัญญัติมาตรา ๔๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม”

                 มาตรา ๘   ให้ยกเลิกความในมาตรา ๘๔ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน

                “มาตรา ๘๔ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทําความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วาน หรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทําความผิด

                 ถ้าความผิดมิได้กระทําลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทํา ยังไม่ได้กระทํา หรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กําหนดไว้สําหรับความผิดนั้น

                 ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทําความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ และถ้าผู้ถูกใช้เป็นบุคคล อายุไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใช้ ผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้เพราะเหตุป่วยเจ็บหรือไม่ว่าทางใด ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ใช้กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาล กําหนดสําหรับผู้นั้น”

                 มาตรา ๙   ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘๕/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา                       “มาตรา ๘๕/๑ ถ้าผู้ถูกใช้ตามมาตรา ๘๔ หรือผู้กระทําตามคําโฆษณา หรือประกาศแก่ บุคคลทั่วไปให้กระทําความผิดตามมาตรา ๘๕ ได้ให้ข้อมูลสําคัญอันเป็นการเปิดเผยถึงการกระทําความผิด ของผู้ใช้ให้กระทําความผิดหรือผู้โฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทําความผิด และเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งต่อการดําเนินคดีแก่บุคคลดังกล่าว ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ําที่กําหนดไว้สําหรับ ความผิดนั้นเพียงใดก็ได้”

                   มาตรา ๑๐  บทบัญญัติมาตรา ๓๐ แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ถูกกักขังแทนค่าปรับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย และเมื่อคํานวณระยะเวลาการกักขังแทนค่าปรับตามอัตราใหม่แล้ว หากปรากฏว่าผู้นั้นถูกกักขังมาจนครบ หรือเกินระยะเวลาที่คํานวณได้ดังกล่าว หรือในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับไม่ถึงสองแสนบาทและผู้นั้น ถูกกักขังมาเกินกําหนดหนึ่งปีแล้ว ให้ปล่อยตัวไปทันที                            มาตรา ๑๑  ให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

       นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการบังคับโทษปรับ ในเรื่องการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับยังไม่ได้กําหนดไว้ และการกําหนด อัตราเงินในการกักขังแทนค่าปรับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป สมควรกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติได้ รวมทั้ง กําหนดอัตราเงินในการกักขังแทนค่าปรับให้สอดคล้องกับค่าแรงขั้นต่ําและภาวะเศรษฐกิจ ส่วนบทบัญญัติ ว่าด้วยการรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทําความผิดที่ไม่ควรถูกส่งเข้าสู่ ระบบเรือนจํา ยังไม่มีการนํามาใช้กับผู้ที่จะถูกลงโทษปรับรวมทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่เคยต้องโทษจําคุกแม้เพียงเล็กน้อย หรือมิใช่ผู้กระทําผิดติดนิสัยได้รับโอกาสในการรอการกําหนดโทษหรือรอการลงโทษ ทําให้มีผู้ต้องถูกจําคุกระยะสั้น อยู่ในเรือนจําเป็นจํานวนมาก สมควรแก้ไขหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจุบัน มีการใช้ผู้ที่มีความอ่อนแอทางร่างกายหรอจื ิตใจ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะจํายอมใหกระท ้ ําความผดมากข ิ ึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ สร้างความเสียหายให้แก่ผู้ที่เป็นเหยื่อของอาชญากรรม ยังทําให้ผู้ที่ถูกใช้ซึ่งไม่มีมูลเหตุจูงใจในการกระทําความผิด มาก่อนต้องกระทําความผิดและได้รับโทษ ทั้งอาจต้องตกอยู่ในภยันตรายและได้รับความเดือดร้อนต่อตนเอง และครอบครัว สมควรกําหนดให้ผู้ใช้ในกรณีดังกล่าวต้องรับโทษหนักขึ้น และให้มีมาตรการลดโทษแก่ผู้ถูกใช้ หรือผู้กระทําตามคําโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทําความผิดที่ได้เปิดเผยข้อมูลสําคัญจนสามารถ ดําเนินคดีกับผู้ใช้หรือผู้โฆษณาหรือประกาศดังกล่าวด้วย จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Weekly Reload Bonus - Neon 54 casino!