Quick Links: Thailand Law Seminars and Conference | Thai Law Forum Past Issues | About Thailand Law Forum | Advertising Guidelines | Publishing Guidelines

Feature Articles :

History of Cannabis
  and Anti-Marijuana
  Laws in Thailand



Thailand’s Notable
  Criminal Extradition
  Cases


Guide for Tourists
  to Laws in Thailand



Neither Free nor Fair:
  Burma’s Sham Elections



Sex Laws in Thailand:
  Part 1



Renewable Energy
  in Thailand



Transsexuals and
  Thai Law



Foreign Mafia in
  Thailand

Thailand Lawyer Blog:
 Thai Government to
  Review Post-2006
  Prosecutions
 Courts Order Thai
  Military to Cease
  Labeling Transsexuals
  as Mentally Ill
 Work Permit Law
  Changes in Thailand
 Bahamian Supreme Court
  Ruling Backs
  Prenuptial Agreement
 The US FATCA:
  “The Neutron Bomb
  the Global Financial
  System”?
 The Effects of the US
  Government’s Policies
  on Americans Living
  Abroad
 Chinese Assimilation
  in Thailand vs. Malaysia
 Illegal Wildlife
  Trafficking in Asia:
  Thailand as a Hub?
 Rabbi Enforcing
  Jewish Divorce Order
  Arrested by FBI
 U.S. Prenuptial
  Agreements in Thailand:
  Why Thai Law is
  Important
 US Immigration in
  Decline?
 Abortion and Family
  Planning Law in
  the Philippines
 U.S. Courts and the
  Application of Foreign
  Law to International
  Prenuptial Agreements
 Thailand Blasted by 2011
  Human Trafficking Report
 US Expats on Alert:
  New US Tax Law
  Extends IRS’s Reach
  Internationally
 Hangover 2 and
  the Thai Censors
 Thailand’s Film
  Industry Steps Up

Submissions :

Chaninat & Leeds provides a variety of legal professional services regarding immigration, land acquisition, intellectual property rights and foreign company registration. They specialize in both family and business legal assistance, especially US K3 visas from Thailand.



 

ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ผู้ขอไม่อาจยื่นคำขอระหว่างประเทศภายในระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก หากผู้ขอประสงค์จะขอถือสิทธิตามข้อ ๑๖ ผู้ขออาจยื่นคำร้องเพื่อขอฟื้นสิทธิการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์เริ่มตั้งแต่วันยื่นคำขอครั้งแรกต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาการขอถือสิทธิตามข้อ ๑๖ วรรคหนึ่งพร้อมทั้งแจ้งเหตุผลและหลักฐานที่แสดงว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว

หากกรมทรัพย์สินทางปัญญาเห็นว่าผู้ขอได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กำหนด ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินกาตามคำร้องต่อไปได้

ข้อ ๑๘ ผู้ขออาจถอนคำขอระหว่างประเทศในเวลาใดก็ได้ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาสามสิบเดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก ต่อองค์กร ดังต่อไปนี้
(๑) กรมทรัพย์สินทางปัญญา
(๒) สำนักระหว่างประเทศ หรือ
(๓) องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์จะให้มีการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ

การขอถอนคำขอระหว่างประเทศให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดตามสนธิสัญญาและให้มีผลเมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสำนักระหว่างประเทศ หรือองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศได้รับแจ้งการขอถอนคำขอระหว่างประเทศ

ในกรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้รับแจ้งการขอถอนคำขอระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่งให้แจ้งการขอถอนดังกล่าวไปยังสำนักระหว่างประเทศโดยเร็ว และในกรณีที่ได้ส่งคำขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้แจ้งการขอถอนไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศด้วย

ข้อ ๑๙ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาคืนเงินค่ายื่นคำขอระหว่างประเทศหรือค่าตรวจค้นระหว่างประเทศแก่ผู้ขอ ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่ไม่มีการดำเนินการกับคำขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๒ วรรคสาม
(๒) กรณีที่มีการถอนคำขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๐ วรรคสาม ข้อ ๑๔ (๑) วรรคสี่ ข้อ ๑๔ (๒) วรรคสอง และข้อ ๑๕ วรรคสาม หรือกรณีที่ผู้ขอถอนคำขอระหว่างประเทศตามข้อ ๑๘ ก่อนส่งคำขอระหว่างประเทศฉบับสำนักระหว่างประเทศไปยังสำนักระหว่างประเทศ หรือก่อนส่งคำขอระหว่างประเทศฉบับองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศไปยังองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศ แล้วแต่กรณี

ข้อ ๒๐ ในกรณีที่องค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่สนธิสัญญารับรองมีหลายแห่งให้อธิบดีประกาศรายชื่อองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะให้ดำเนินการตรวจค้นคำขอระหว่างประเทศของผู้ขอที่ยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และแจ้งให้สำนักระหว่างประเทศทราบ

ในกรณีที่อธิบดีประกาศรายชื่อองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศมากกว่าหนึ่งองค์กร ให้ผู้ขอระบุองค์กรตรวจค้นระหว่างประเทศที่ประสงค์จะให้ดำเนินการตรวจค้นคำขอระหว่างประเทศไว้ในคำขอระหว่างประเทศ

ข้อ ๒๑ ในกรณีที่องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศที่สนธิสัญญารับรองมีหลายแห่งให้อธิบดีประกาศรายชื่อองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะให้ดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตามคำขอระหว่าง ประเทศของผู้ขอที่ยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา และแจ้งให้สำนักระหว่างประเทศทราบ

ในกรณีที่ผู้ขอประสงค์จะให้องค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศองค์กรใดที่อธิบดีประกาศรายชื่อเป็นองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศเกี่ยวกับการประดิษฐ์ตามคำขอระหว่างประเทศของตน ให้ยื่นคำร้องขอไปยังองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศนั้นโดยตรง หรือยื่นผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อส่งต่อไปยังองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศ และให้ผู้ขอชำระค่าตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศต่อองค์กรตรวจสอบเบื้องต้นระหว่างประเทศโดยตรง

หมวด ๒
การดำเนินการกับคำขอระหว่างประเทศ
ที่ขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย

ข้อ ๒๒ ผู้ขอซึ่งได้ยื่นคำขอระหว่างประเทศในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาไว้แล้วหากประสงค์จะขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย ให้แจ้งความประสงค์มายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด พร้อมทั้งส่งคำแปลเป็นภาษาไทยและชำระค่าธรรมเนียมคำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรตามอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ภายในระยะเวลาสามสิบเดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก

ในกรณีที่ผู้ขอมิได้ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าคำขอระหว่างประเทศนั้นสิ้นผลในประเทศไทย

ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ขอไม่อาจดำเนินการภายในระยะเวลาสามสิบเดือนตามข้อ ๒๒ วรรคหนึ่ง ผู้ขออาจยื่นคำร้องเพื่อขอฟื้นสิทธิให้คำขอระหว่างประเทศยังคงมีผลในประเทศไทยต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่เหตุที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดได้สิ้นสุดลง หรือภายในระยะเวลาสิบสองเดือนนับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๒๒ วรคหนึ่ง แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงก่อน โดยแสดงเหตุผลและหลักฐาน พร้อมทั้งดำเนินการตามที่กำหนดในข้อ ๒๒

เมื่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาคำร้องตามวรรคหนึ่งแล้ว เห็นว่าผู้ขอได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำ เนินการกับคำ ขอระหว่างประเทศตามขั้นตอนที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ต่อไปและแจ้งให้ผู้ขอทราบด้วย

ข้อ ๒๔ ผู้ขอซึ่งได้ยื่นคำ ขอระหว่างประเทศไว้แล้วในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาและประสงค์ที่จะขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทย อาจร้องขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาทบทวนผลการพิจารณาคำขอระหว่างประเทศในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่สำนักงานรับคำขอในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาปฏิเสธที่จะระบุวันยื่นคำขอระหว่างประเทศ หรือ
(๒) กรณีที่ถือว่ามีการถอนคำขอระหว่างประเทศการยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ขอยื่นคำร้องไปยังสำนักระหว่างประเทศภายในระยะเวลาสองเดือนนับแต่วันที่ผู้ขอได้รับแจ้งผลการพิจารณา เพื่อขอให้สำนักระหว่างประเทศ
จัดส่งคำขอระหว่างประเทศนั้นมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญา

หากปรากฏแก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาว่า ผลการพิจารณาคำขอระหว่างประเทศตามวรรคหนึ่งเกิดจากความผิดพลาดหรือความละเลยของสำนักงานรับคำขอในประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาหรือสำนักระหว่างประเทศ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการกับคำขอระหว่างประเทศนั้นตามขั้นตอนที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ต่อไป และให้ถือว่าคำขอระหว่างประเทศดังกล่าวเป็นคำขอรับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ที่ได้ยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อ ๒๕ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการกับคำขอระหว่างประเทศที่ขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศไทยตามข้อ ๒๒ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาสามสิบเดือนนับแต่วันยื่นคำขอครั้งแรก เว้นแต่ผู้ขอได้ยื่นคำร้องขอให้ดำเนินการก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว


ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒


พรทิวา นาคาศัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


Index Page
[1]  [2]  [3]


หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็น การกำหนดให้ผู้ยื่นคำขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีสัญชาติหรือภูมิลำเนาของประเทศภาคีแห่งสนธิสัญญาสามารถยื่นคำขอระหว่างประเทศเพียงครั้งเดียว เพื่อขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาได้ อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ยื่นคำขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ ประกอบกับมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้การขอรับสิทธิบัตรเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกฎกระทรวงนี้

 

© Copyright Thailand Law Forum, All Rights Reserved
(except where the work is the individual works of the authors as noted)