พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘
พระราชบัญญัติ
กำลังพลสำรอง
พ.ศ. ๒๕๕๘
________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกำลังพลสำรอง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล่า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ.๒๕๕๘”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“กำลังพลสำรอง” หมายความว่า บุคคลซึ่งเป็นกำลังสำรองประเภทหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วย
การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมที่มีการบรรจุในบัญชีบรรจุกำลังตามพระราชบัญญัตินี้
“กิจการกำลังพลสำรอง” หมายความว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเตรียมและการใช้กำลังพลสำรอง
เช่น การบรรจุและการใช้กำลังพลสำรอง การผลิตกำลังพลสำรอง การฝึกศึกษากำลังพลสำรอง
การควบคุมกำลังพลสำรอง และการเรียกกำลังพลสำรองหรือการระดมพล
“บัญชีบรรจุกำลัง” หมายความว่า บัญชีแสดงรายชื่อและตำแหน่งหน้าที่ตามอัตราการจัดของ
หน่วยทหาร
“หน่วยทหาร” หมายความว่า หน่วยทหารตามกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
“นายจ้าง” หมายความว่า นายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ในกรณีที่มีพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฏีกา กฎกระทรวง กฎ ข้อบังคับ
หรือระเบียบใดบัญญัติถึงสิทธิหรือหน้าที่ในการรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร
หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และในการระดมพลตามกฏหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้การรับ
ราชการทหารดังกล่าวหมายความถึงการรับราชการทหารของกำลังพลสำรองตามพระราชบัญญัตินี้
และหมายความรวมถึงการลาเพื่อปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่พระราชบัญญัตินี้
ได้กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ของกำลังพลสำรองไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มี
อำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ และระเบียบ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
คณะกรรมการกำลังพลสำรอง
_________________
มาตรา ๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกำลังพลสำรอง”
เรียกโดยย่อว่า “คกส.” ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานกรรมการ
(๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบเก้าคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง
ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกลาโหม เจ้ากรมเสมียนตรา เจ้ากรมพระธรรมนูญ เจ้ากรมกำลังพลทหาร
เจ้ากรมยุทธการทหาร และผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งตามข้อเสนอแนะของกรรมการตาม (๓)
จำนวนไม่เกินห้าคน
ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมอบหมาย เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
ให้เจ้ากรมการสรรพากรกำลังกลาโหมเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้เจ้ากรมกำลังพลทหารบก
เจ้ากรมกำลังพลทหารเรือ และเจ้ากรมกำลังพลทหารอากาศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๗ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่ง
ติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกแม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่จะเป็นการรอการลงโทษใน
ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๙ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว
ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้น
อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เว้นแต่วาระเหลืออยู่
ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างหรือเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้น
อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว เว้นแต่วาระเหลืออยู่
ไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งอยู่ในตำแหน่ง
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปพ้นจากตำแหน่ง ให้ คกส. ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จนกว่ากรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๐ ให้ คกส. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรองและการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับ
กำลังพลสำรอง
(๒) กำหนดแนวทางการปฏิบัติและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง
(๓) เสนอแนะแผนการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองและกำลังสำรองอื่นๆ
(๔) เสนอแนะการกำหนดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้แก่กำลังพลสำรองและนายจ้างที่ให้ความร่วมมือ
และสนับสนุนให้ลุกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๑ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับแก่การประชุม คกส. โดยอนุโลม
มาตรา ๑๒ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คกส. อาจขอให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานอื่นของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆที่เกี่ยวข้องมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
หรืออาจขอให้บุคคลใดๆมาชี้แจงด้วยก็ได้
มาตรา ๑๓ ให้กรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทำหน้าที่
สำนักงานเลขานุการของ คกส. โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแผนและประสานงานการดำเนินการของ คกส.
(๒) รวบรวมเอกสารและข้อมูล ตลอดจนส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ในกิจการกำลังพลสำรอง
(๓) เป็นศูนย์กลางการติดต่อประสานงานในการดำเนินงานทั้งปวงเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง
และสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่ คกส. มอบหมาย
หมวด ๒
กิจการกำลังพลสำรอง
_______________
ส่วนที่ ๑
การเป็นกำลังพลสำรอง
______________
มาตรา ๑๕ การรับบุคคลเข้าเป็นกำลังพลสำรอง ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) รับสมัครจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในข้อบังคับ หรือ
(๒) คัดเลือกจากนายทหารสัญญาบัตรกองหนุน นายทหารสัญญาบัตรนอกราชการ นายทหาร
สัญญาบัตรนอกกอง ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ หรือทหารกองเกิน
ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
กำหนดเวลาเป็นกำลังพลสำรองตามวรรคหนึ่ง และการยกเว้นการเป็นกำลังสำรองของบุคคล
ตาม (๒) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักเกณฑ์และวิธีการรับสมัครหรือคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา ๑๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บรรจุชื่อกำลังพลสำรองในบัญชีบรรจุกำลัง โดยดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีการเข้าเป็นกำลังพลสำรองตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้บรรจุรายชื่อลงในบัญชีบรรจุกำลัง
ของหน่วยทหารที่กำลังพลสำรองแจ้งความประสงค์
(๒) กรณีการเข้าเป็นกำลังพลสำรองตามมาตรา ๑๕ (๒) ให้บรรจุรายชื่อลงในบัญชีบรรจุกำลัง
ของหน่วยทหารตามภูมิลำเนาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
หลักเกณฑ์และวิธีการบรรจุรายชื่อกำลังพลสำรองในบัญชีบรรจุกำลัง ให้เป็นไปตามที่กำหนด
ในข้อบังคับ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้กำลังพลสำรองทราบ
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่มีการบรรจุรายชื่อกำลังพลสำรองผู้ใดลงในบัญชีบรรจุกำลังของหน่วยทหาร
ต่างไปจากสังกัดหน่วยทหารตามภูมิลำเนาทหาร ให้หน่วยทหารที่กำลังพลสำรองมีรายชื่อบรรจุอยู่
แจ้งการบรรจุรายชื่อของกำลังพลสำรองให้หน่วยทหารตามภูมิลำเนาทหารซึ่งกำลังพลสำรองผู้นั้นสังกัดอยู่ทราบ
มาตรา ๑๘ เพื่อประโยชน์แก่การดำเนินการกำลังพลสำรอง ในกรณีที่กำลังพลสำรองผู้ใด
ประสงค์จะขอเปลี่ยนการบรรจุรายชื่อในบัญชีบรรจุกำลังของหน่วยทหารหนึ่งไปอีกหน่วยทหารหนึ่ง พนักงาน
เจ้าหน้าที่อาจพิจารณาอนุญาตให้ดำเนินการได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับ
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับความยินยอมจากหน่วยทหารที่กำลังพลสำรองประสงค์
จะไปบรรจุรายชื่อในบัญชีบรรจุกำลังของหน่วยทหารดังกล่าว
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๖
วรรคสามและมาตรา ๑๗ โดยอนุโลม
มาตรา ๑๙ ให้กำลังพลสำรองพ้นจากการเป็นกำลังพลสำรอง เมื่อ
(๑) ครบกำหนดเวลาการเป็นกำลังพลสำรองตามที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามมาตรา ๑๕
วรรคสอง
(๒) เข้ารับราชการทหารตามมาตรา ๓๐
(๓) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ส่วนที่ ๒
หน้าที่กำลังพลสำรอง
___________________
มาตรา ๒๐ กำลังสำรองมีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ
เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และในการระดมพล
การเข้ารับราชการทหารตามวรรคหนึ่ง ให้กำลังพลสำรองมีอำนาจหน้าที่ตามชั้นยศและตำแหน่ง
เช่นเดียวกับทหารประจำการและทหารกองประจำการ แล้วแต่กรณี
การแต่งตั้งและการเลื่อนยศของกำลังพลสำรอง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยยศทหาร
การผ่อนผันให้กำลังพลสำรองไม่ต้องเข้ารับราชการทหารตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๑ การเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ
หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ให้กระทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา ๒๒ การเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบ ให้กระทำได้เพื่อเรียกกำลังพลสำรอง
เข้ารับการตรวจสอบสภาพ ตรวจสอบบัญชีเตรียมกำลังพลสำรอง และซักซ้อมระเบียบการ เพื่อประโยชน์
ในการเตรียมความพร้อมในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลอง
ความพรั่งพร้อม และในการระดมพล
มาตรา ๒๓ การเรียกกำลังพลสำรองเพื่อฝึกวิชาทหาร ให้กระทำได้เพื่อเรียกกำลังพลสำรอง
เข้ารับการฝึก ศึกษา หรือทบทวนวิชาทหาร เพื่อให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๔ การเรียกกำลังพลสำรองเพื่อปฏิบัติราชการ ให้กระทำได้ในกรณีจำเป็นเพื่อเรียก
กำลังพลสำรองเข้าปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ในการปฏิบัติภารกิจที่ต้องใช้
ความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นการเฉพาะ หรือเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การเรียกกำลังพลสำรองเพื่อปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง ต้องกระทำเป็นการชั่วคราวและเท่าที่จำเป็น
สำหรับการปฏิบัติภารกิจตามที่มีคำสั่งเรียกเท่านั้น
มาตรา ๒๕ การเรียกกำลังพลสำรองเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม ให้กระทำได้เพื่อเรียก
กำลังพลสำรองเข้ามารับการทดสอบแผนหรือเตรียมรับสถานการณ์ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามแผนที่กำหนด
มาตรา ๒๖ การระดมพล ให้กระทำได้ในเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศ
ใช้กฎอัยการศึก หรือกรณีที่มีการรบหรือการสงคราม จนถึงขั้นที่ต้องมีการระดมสรรพกำลังของชาติ
การระดมพล ให้กระทำได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๒๗ กำลังพลสำรองตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ได้รับยกเว้นการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ
เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และการระดมพลตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
และให้การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๒๘ ให้กระทรวงกลาโหมมีอำนาจหน้าที่จัดเตรียม อำนวยการ และดำเนินการ
ในกิจการกำลังพลสำรอง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา ๒๙ กำลังพลสำรองซึ่งถูกเรียกเข้ารับราชการทหารตามมาตรา ๒๐ ถ้าไม่มาหรือ
มาแต่ไม่เข้ารับราชการทหาร หรือไม่อยู่จนกว่าการรับราชการทหารแล้วเสร็จ ให้ถือว่ากำลังพลสำรองนั้น
หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหาร เว้นแต่
หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหาร เว้นแต่
(๑) ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปัจจบันทันด่วนให้ไปราชการอันสำคัญยิ่ง
หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง
(๒) นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓) ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบ
หรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม
(๔) บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานทหารในราชการสนาม
(๕) เกิดเหตุสุดวิสัย
(๖) ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อพนักงาน
เจ้าหน้าที่ในวันที่เรียกเข้ารับราชการทหาร
(๗) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) ต้องได้รับการผ่อนผันเฉพาะคราวจากรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรี
มอบหมาย
มาตรา ๓๐ กระทรวงกลาโหมอาจรับสมัครกำลังพลสำรองเพื่อทำหน้าที่ทหารเป็นการชั่วคราวได้
ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร
กำลังพลสำรองที่เข้ารับราชการทหารตามวรรคหนึ่ง ให้พ้นจากการเป็นกำลังพลสำรอง
ตามพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ ๓
การแจ้ง
____________________
มาตรา ๓๑ การแจ้งการบรรจุรายชื่อกำลังพลสำรองตามมาตรา ๑๖ วรรคสาม การเรียก
กำลังพลสำรอง หรือการระดมพล ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียก แล้วแต่กรณี โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ส่งหนังสือหรือคำสั่งดังกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้กำลังพลสำรอง ณ สถานที่ติดต่อ ดังต่อไปนี้
(๑) กำลังพลสำรองตามมาตรา ๑๕ (๑) ให้แจ้ง ณ สถานที่ที่กำลังพลสำรองระบุไว้
ในขณะสมัครเข้าเป็นกำลังพลสำรอง
(๒) กำลังพลสำรองตามมาตรา ๑๕ (๒) ให้แจ้ง ณ สถานที่ที่มีการส่งหมายเรียกพลหรือคำสั่ง
เรียกพลตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ากำลังพลสำรองได้รับหนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียกแล้ว เมื่อครบ
กำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
นอกจากการส่งหนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียกตามวิธีการในวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่อาจนำส่ง
หนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียกให้แก่กำลังพลสำรองโดยตรงได้
มาตรา ๓๒ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการแจ้งตามวิธีการที่กำหนดในมาตรา ๓๑ ได้ ให้พนักงาน
เจ้าหน้าที่ปิดหนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียกนั้นไว้ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานที่ตามมาตรา ๓๑ เว้นแต่ในกรณี
ที่มีการระดมพล การแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้กระทำได้โดยวิธีอื่นใดเพื่อให้กำลังพลสำรองรับทราบคำสั่งได้อย่าสะดวก
และชัดเจน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่ากำลังพลสำรองได้รับหนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียกเมื่อครบกำหนดเจ็ดวัน
นับแต่วันปิดหนังสือแจ้งหรือคำสั่งเรียก หรือวันที่ถือว่าได้รับคำสั่งเรียกตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ตามวรรคหนึ่ง แล้วแต่กรณี
มาตรา ๓๓ ในกรณที่กำลังพลสำรองประสงค์จะเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อตามมาตรา ๓๑
ให้กำลังพลสำรองแจ้งไปยังหน่วยทหารที่ตนมีรายชื่อบรรจุอยู่ตามแบบที่กำหนดในข้อบังคับ และเมื่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ติดต่อ
มาตรา ๓๔ กำลังพลสำรองผู้ใดเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือแก้ไขเลขประจำตัวประชาชน
ให้ผู้นั้นแจ้งการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลหรือการแก้ไขเลขประจำตัวประชาชนไปยังหน่วยทหารที่ตน
มีรายชื่อบรรจุอยู่ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือแก้ไขเลขประจำตัวประชาชน
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับ
หมวด ๓
วินัย
________________
มาตรา ๓๕ กำลังพลสำรองที่เข้ารับราชการทหารตามมาตรา ๒๐ ต้องอยู่ในวินัยทหาร
ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร เช่นเดียวกับทหารประจำการหรือทหารกองประจำการ แล้วแต่กรณี
หมวด ๔
บทกำหนดโทษ
_______________
มาตรา ๓๗ กำลังพลสำรองผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับราชการทหาร
ในการเรียกกำลังพลสำรองเพื่อตรวจสอบตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือ
ปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
กำลังพลสำรองผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่มาหรือมาแต่ไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียก
กำลังพลสำรองเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อปฏิบัติราชการ หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล
ตามมาตรา ๒๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี
มาตรา ๓๘ กำลังพลสำรองผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่อยู่รับราชการทหารตามมาตรา ๒๐
จนครบกำหนดเวลาตามที่กำหนดในคำสั่งเรียกโดยมิได้รับอนุญาต หรือไม่มาปฏิบัติราชการเมื่อพ้นกำหนด
อนุญาตลาแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานหนีราชการและต้องระวางโทษตามกฎหมายว่าด้วยอาญาทหาร
และให้นำบทบัญญัติตามกฎหมายว่าด้วยอาญาทหารในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจลงทัณฑ์ในความผิดต่อ
วินัยทหารมาใช้บังคับแก่การกระทำความผิดนี้
มาตรา ๓๙ กำลังพลสำรองในบัญชีบรรจุกำลังผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๐ นายจ้างผู้ใดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นกำลังพลสำรองในวันลาเพื่อรับราชการทหารตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
มาตรา ๔๑ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการกำลังพลสำรองประกอบด้วยกรรมการ
ตามมาตรา ๖ (๑) (๒) (๓) วรรคสองและวรรคสาม เพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน จนกว่า
จะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตร ๖ (๔) ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๔๒ ในวาระเริ่มแรก การรับบุคคลเข้าเป็นกำลังพลสำรองตามมาตรา ๑๕ ให้กระทำได้
เมื่อพ้นสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๔๓ ให้นำกฎกระทรวง กฎ ข้อบังคับ ระเบียบแบบแผน ประกาศ คำสั่ง หรือ
มติของสภากลาโหมส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดให้ทหารกองเกินและทหารกองหนุนมีหน้าที่เข้ารับราชการทหาร
ในการเรียกพลหรือระดมพล ที่ออกตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ เท่าที่ไม่ขัดหรือ
แย้งกับพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับการรับราชการทหารของกำลังพลสำรองตามพระราชบัญญัตินี้
ทั้งนี้ จนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือระเบียบตามพระราชบัญยัตินี้ขึ้นใช้บังคับ
การดำเนินการออกกฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือระเบียบตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการให้เแล้วเสร็จ
ภายในสองร้อยสี่สอบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้รัฐมนตรี
รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหต ุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกําหนดให้มีกําลังพลสํารอง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามอํานาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม โดยกําหนดประเภทบุคคลที่จะเป็น กําลังพลสํารอง การดําเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับกิจการกําลังพลสํารอง รวมถึงการกําหนดหน้าที่และสิทธิของ กําลังพลสํารองในการเข้ารับราชการทหารให้ชัดเจน เพื่อเป็นการพัฒนากิจการกําลังพลสํารองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติน